ระบบราง
ขนาดความกว้างรางรถไฟ (อังกฤษ: Track gauge) หรือเรียกอย่างง่ายว่า เกจ (gauge) คือระยะห่างของรางรถไฟ โดยวัดจากหัวรางด้านในข้างซ้ายถึงหัวรางด้านในข้างขวา สแตนดาร์ดเกจ (standard gauge) เป็นชื่อของขนาดความกว้างรางที่นิยมใช้มากที่สุดทั่วโลก โดยประมาณ 60% ของรางรถไฟทั้งหมด โดยมีขนาด 1,435 มม. (4 ฟุต 812 นิ้ว) โดยในเมืองไทยรางรถไฟส่วนใหญ่มีขนาดความกว้างที่เรียกว่า มีเตอร์เกจ ที่มีขนาดความกว้าง 1,000 มม. ซึ่งมีแผนการจะพัฒนาปรับปรุงเพื่อใช้สำหรับรถไฟความเร็วสูง[1]
เกจมาตรฐาน (Standard gauge)[แก้]
เป็นรางขนาด 1.435 เมตร เกจนี้มีชื่อเรียกว่า เกจมาตรฐานยุโรป (European Standard Gauge) หรือเรียกอย่างง่ายว่า เกจมาตรฐาน เป็นเกจที่ชาติยุโรปในอดีตร่วมกันกำหนดให้เป็นเกจมาตรฐานประจำทวีปยุโรป ปัจจุบันเป็นเกจที่มีการใช้งานมากที่สุดในโลก ภูมิภาคที่ใช้งานเกจนี้เป็นหลักได้แก่ ทวีปยุโรป, ทวีปอเมริกาเหนือ, กลุ่มประเทศอาหรับ และประเทศจีน
เกจกว้าง (Broad gauge)[แก้]
เกจกว้าง (Broad gauge) เป็นรางที่มีขนาดความกว้างมากกว่า 1.435 เมตรขึ้นไป
ความกว้าง (เมตร) | ชื่อเรียกเกจ | ระยะทางที่มีการก่อสร้าง (กิโลเมตร) | สถานที่มีการใช้งานที่ |
---|---|---|---|
1.676 | เกจอินเดีย | 77,000 | อินเดีย (42,000 กิโลเตร; (เพิ่มขึ้นจากโครงการปรับเปลี่ยนราง), ปากีสถาน, ทางรถไฟในประเทศอาร์เจนตินา (24,000 กิโลเมตร), ชิลี (ประมาณ 612% ของทางรถไฟในโลก) |
1.668 | เกจไอบีเรีย | 15,394 | โปรตุเกส, ทางรถไฟในสเปน (ในสเปน 21 กิโลเมตร ซึ่งเป็นรางที่ใช้ร่วมกัน 3 ราง ในทางคู่ โดยใช้ Iberian กับ standard gaugesซึ่งที่เหลือเป็นแผนที่จะทำในอนาคต |
1.600 | เกจไอร์แลนด์ | 9,800 | ไอร์แลนด์, รัฐวิกตอเรีย และบางรัฐทางตอนใต้ ของประเทศออสเตรเลียส่วนใหญ่ (Victorian gauge) (4,017 กิโลเมตร), รางในประเทศบลาซิล (4,057 กิโลเมตร) |
1.524 | เกจรัสเซีย | 5,865 | รางรถไฟในประเทศฟินแลนด์ |
1.520 | เกจรัสเซีย | 220,000 | รัฐ CIS (รวมทั้งรางรถไฟในประเทศรัสเซีย), เอสโตเนีย, ลัตเวีย, ลิธัวเนีย, มองโกเลีย (ประมาณ 17% ของรางรถไฟในโลก) |
1.435 | เกจมาตรฐาน | 720,000 | รางรถไฟในกลุ่มประเทศยุโรป, รางในประเทศอาร์เจนตินา, รางรถไฟในประเทศสหรัฐอเมริกา, รางรถไฟในประเทศแคนาดา, รางในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน, เกาหลี, ออสเตรเลีย, ไทย, ใจกลางของแอฟริกาตะวันออก, แอฟริกาเหนือ, เม็กซิโก, คิวบา, ปานามา, เวเนซูเอล่า, เปรู, อุรุกวัย และฟิลิปปินส์ เส้นทางรถไฟความเร็วสูงในประเทศญี่ปุ่น และสเปน (ประมาณ 60% ของรางรถไฟในโลก) |
1.067 | เกจแหลม | 112,000 | แอฟริกาใต้และแอฟริกากลาง, อินโดนีเซีย, ญี่ปุ่น, สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน), ฟิลิปปินส์, นิวซีแลนด์, รัฐควีนแลนด์ ประเทศออสเตรเลีย (ประมาณ 9% ของทางรถไฟในโลก) |
1.000 | เกจหนึ่งเมตร | 95,000 | เอเชียตะวันออกเฉียงใต้, อินเดีย (17,000 กิโลเมตร, ซึ่งปัจจุบันมีระยะทางลดลงจากโครงการปรับเปลี่ยนขนาดราง), ทางรถไฟในประเทศอาร์เจนตินา (11,000 กิโลเมตร), ทางรถไฟในประเทศบราซิล (23,489 กิโลเมตร), โบลิเวีย, ทางเหนือของประเทศชิลี, เคนย่า, ยูกานด้า (โดยประมาณ 7% ของทางรถไฟในโลก) |

ระบบรถไฟทางผสม หรือ ระบบรถไฟทางร่วม หรือ ระบบรถไฟทางคร่อม หรือ ดูอัลเกจ (dual gauge) เป็นทางรถไฟที่อนุญาตให้รถไฟที่มีขนาดความกว้างของขบวนต่างกัน สามารถวิ่งบนเส้นทางเดียวกัน โดยในแต่ละเส้นทางจะมีรางรถไฟอยู่ 3 ทาง โดยรางด้านนอกจะเป็นรางสำหรับรถไฟที่มีความกว้าง ขณะที่รางด้านในด้านหนึ่งคู่กับรางด้านนอกอีกด้านหนึ่งใช้สำหรับรถไฟที่แคบกว่า
บางครั้งมีการสับสนในการเรียกรางรถไฟประเภทนี้ว่า รถไฟทางคู่
1. ชั้นพื้นถนน (Street Level)
1. เครื่องกำเนิดไฟฟ้า 2. ถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิง 3. ปั๊มการส่งจ่ายน้ำ 4. ถังเก็บน้ำ ข้อมูลต่าง ๆ ที่แสดงที่ชั้นพื้นถนนมีดังนี้ - ป้ายสัญลักษณ์ “ BTS” - ชื่อสถานี - ป้ายบอกทาง - ป้ายบอกเวลาเดินรถขบวนแรกและขบวนสุดท้าย | ||
ทางวิ่ง | ||||||
เส้นทางเดินรถ ระบบรถไฟฟ้าบีทีเอส ประกอบด้วยสถานีทั้งหมด 35 สถานี รวม 2 เส้นทาง ดังนี้ | ||||||
เส้นทางเริ่มจากแยกถนนราชพฤษ์ตัดกับถนนเพชรเกษม ไปตามถนนราชพฤกษ์ ผ่านแยกถนนราชพฤกษ์ตัดกับถนนวุฒากาศ ผ่านแยกรัชดา - ตลาดพลู ผ่านแยกตากสิน ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาที่สะพานตากสิน ไปตามถนนสาทร เลี้ยวซ้ายเข้าถนนช่องนนทรี ผ่านถนนสีลม สวนลุมพินี ถนนราชดำริ และเลี้ยวซ้ายเข้าถนนพระราม 1 ไปสิ้นสุดที่บริเวณหน้าสนามกีฬาแห่งชาติ ทำให้สายสีลมมีระยะทางรวมทั้งสิ้นประมาณ 14.2 กิโลเมตร มี 13 สถานี รวมสถานีร่วม (สถานีสยาม)
| ||||||
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น